วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษาอย่างไร และส่งผลกระทบต่อตัวท่านในฐานะนักการศึกษาอย่างไร


    สังคมโลกาภิวัตน์(globalization) อันเป็นสังคมสารสนเทศ มีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม เชื่อมโยงการสื่อสารอย่างทั่วถึงโดยมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นตัวกลาง มีการรับและถ่ายทอดทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือการศึกษา อย่างไร้ขอบเขต ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการหนึ่งของประเทศใดประเทศหนึ่งย่อมส่งผลอย่างกว้างขวางต่อประเทศอื่น ๆ เปรียบเสมือนคำกล่าวที่ว่า แค่ผีเสื้อกระพือปีกก็สะเทือนทั้งดวงดาว การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษา       ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศถูกยกให้เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็น    ต้องมี ไม่ว่าจะในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือคุณลักษณะของเด็กในสังคมอาเซียน ล้วนต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโยด้วยกันทั้งสิ้น            
            กรณีศึกษาที่น่าสนใจที่เห็นได้ชัดว่ากระบวนทัศน์ทางการศึกษาได้มีการปรับเปลี่ยนโดยให้ความสำคัญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก นั่นก็คือนโยบายด้านการจัดการศึกษาของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยรัฐบาลเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้มีระบบ       การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (Tablet)  ตามแนวนโยบายถือว่าเป็นนโยบายที่ดี เพราะจะทำให้นักเรียนมีความเท่าเทียมกันในการศึกษามากขึ้น  แต่ในฐานะที่เคยสัมผัสกับผู้เรียนในโรงเรียนทำให้พบว่า ก่อนที่จะให้นักเรียนใช้แท็บเล็ต ควรให้นักเรียนฝึกการอ่านออก เขียนได้ (โดยเฉพาะนักเรียน      ในระดับประถมศึกษาตอนต้น พบว่าปัจจุบันเกิดปัญหานักเรียนมีกล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง เพราะขาดการฝึกขียนเพิ่มมากขึ้น) ใช้ภาษาให้ถูกต้อง และที่สำคัญสอนให้รู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ถูกทาง
                   ในฐานะนักการศึกษาในสังคมสารสนเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักการศึกษาควรรู้เท่าทันเทคโนโลยี และสามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในข้อมูลข่าวสารที่ได้รับอย่างมีวิจารณญาณและยุติธรรม อีกทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน โดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก   



   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น