และส่งผลกระทบต่อตัวท่านอย่างไร
การทำเข้าใจความเป็นมาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จะทำให้สามารถเข้าใจบริบทอื่น ๆ ของอาเซีย ซึ่งรวมถึงหัวหัวการจัดการศึกษาของไทย ดังนัินจึงมีวิดีโอสั้น ๆ แนะนำอาเซียน (English version) ภาษาไทยก็มีค่ะ แต่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ใช้ในประชาคมอาเซียน เราจึงควรฝึกภาษาอังกฤษไว้นะคะ
ถ้าเปิดไม่ได้ให้ไปที่ : http://www.youtube.com/watch?v=XYFp0amicLY&feature=related
การรวมตัวกันของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประชาคมอาเซียน มีการร่วมมือแบบ "One Vision, One Identity, One Community" วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว แน่นอนว่าเรื่องการศึกษาก็เป็นอีกเรื่องที่ได้รับผลกระทบต่อการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีนโยบายของตนเอง แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับประเทศสมาชิกเพื่อเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทุกระดับการศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งหมายถึงผู้เรียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ย่อมได้รับผลกระทบและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง ทั้งในด้านสถาบัน การศึกษา ทักษะของผู้สอน ทักษะของผู้เรียน โดยเฉพาะผู้เรียนต้องมีการตื่นตัวและเตรียมตนเองให้พร้อมในการเป็นส่วนหนี่งประชาคมอาเซียน
การสำรวจความตระหนักรู้ของเยาวชนเกี่ยวกับอาเซียน โดยสำรวจจากจำนวนนักศึกษา 2,170 คน จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ผลสำรวจปรากฏว่า "ประเทศไทยอยู่ในอับดับที่ 8" ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาไทยตระหนักในเรื่องนี้น้อยมาก ขาดการ เตรียมการที่ดี ขาดการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์อนาคต แม้จะรับรู้เรื่องเกี่ยวกับอาเซียนบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ก็ไม่ได้สนใจว่ามีผลกระทบต่อตนเองอย่างไร ไม่ใส่ใจที่จะเตรียมตัว คิดว่าเมื่อถึงเวลาก็ต้องสามารถปรับตัวได้ แต่หารู้ไม่ว่าวิธีคิดดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยจะพัฒนาช้ากว่าประเทศสมาชิกอื่น ๆ
จากเหตุการณ์ดังกล่าว การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งล้วนเป็นปัญญาชนที่จะต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยน ย่อมต้องตื่นตัวและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงก่อนใคร ๆ ในทุก ๆ ด้าน
ด้านสถาบันการศึกษาและบุคลาการทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.)ได้มีการกำหนด ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน 2558 สรุปความได้ว่า ประเทศไทยต้องพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษา ผ่านการพัฒนาหลักสูตร พัฒนางานวิชาการ พัฒนาอาจารย์ พัฒนาโครงสร้าง พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างความเป็นเลิศด้านงานวิจัย เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) กำหนดยุทธศาสตร์แล้ว มหาวิทยาก็ต้องนำมาปรับปรุงสถาบันของตน เช่น ส่งเสริมให้ใช้ภาษาอังกฤษ เปิดหลักสูตรการสอนภาษาประเทศสมาชิก อำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาต่างชาติ ส่งเสริมจุดแข็งของความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย การท่องเที่ยวไทย แพทย์แผนไทย และสำคัญที่สุดภาษาไทย
ด้านผู้เรียนซึ่งจะกล่าวถึงในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นผู้เรียนที่ได้ผ่านการเรียนรู้ การขัดเกลา ทางด้านอารมณ์ สังคม มีคุณวุฒิมากกว่าในระดับอื่น เมื่อประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่อาเซียน การเปลี่ยนการศึกษาที่เคยศึกษาเฉพาะเรื่องของประเทศเราเป็นศึกษาเพื่อ "รู้เขารู้เรา" คือ ศึกษาปัจจัยที่ครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิก อีกทั้งยังต้องพัฒนาทักษะซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ยึดหลักจริยธรรมและการอยู่อย่างยั่งยืน หรือดังที่ สุชาดา กีระนันทน์,2555 ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นบัณฑิตต้องมีทักษะอย่างน้อย คือ
1. มีความรู้อย่างลึกซึ้งในสาขาวิชานั้นๆ โดยจะต้องสามารถสร้างความรู้ใหม่และพัฒนานวัตกรรมได้ เพื่อพัฒนาตัวเองให้เป็นบุคลากรที่สำคัญและมีความจำเป็นของหน่วยงานนั้น
2. มีความสามารถปรับเปลี่ยนงานใหม่ในสาขาที่ใกล้เคียงได้ เพื่อที่จะมีโอกาสในการหางานได้มากขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างความรู้ใหม่ เช่น มีพื้นฐานที่ดีทางคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร การเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. มีความรอบรู้ในข้อมูลพื้นฐานและนิสัยใจคอของกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เนื่องจากบัณฑิตจะต้องใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ต่างวัฒนธรรม จึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
4. มีทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร ซึ่งไม่ได้ใช้แค่เพียงภาษาอังกฤษแต่จะต้องสามารถเข้าใจภาษาในกลุ่มอาเซียนด้วยกันด้วย (*เรื่องน่ารู้ สถาบันภาษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจพบว่า บัณฑิตประเทศไทย มีคะแนน TOEFL เฉลี่ย 450 คะแนน น้อยกว่าพม่าและกัมพูชาซึ่งมีคะแนน TOEFL เฉลี่ย 500 คะแนน)
โดยเฉพาะวิชาที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี 8 วิชาชีพ โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 คือ
1. วิศวกรรม (Engineering Services)
2. พยาบาล (Nursing Services)
3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5. แพทย์ (Medical Practitioners)
6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7. บัญชี (Accountancy Services)
8. วิชาชีพด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว (hotel services and tourism)
บางคนอาจคิดว่าการเปลี่ยนแปลงประชาคมอาเซียนคงไม่ได้ทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่ความจริงแล้ว ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเราโดย ลองคิดดูว่าในปี 2558 มีการไหลลื่นของคนและวัฒนธรรมสะดวกขึ้น แต่เราไม่เคยได้เตรียมตัวอะไร จะเกิดอะไรขึ้น พูดกับคนอื่นไม่เข้าใจ ใช้ชีวิตในสังคมอย่างอยากลำบากแน่นอน ดังนั้นทักษะที่ตนเองคิดว่าต้องพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างแรก คือ ทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นคนหนึ่่งที่ได้ฉุดคะแนนเฉลี่ย TOEFL ของประเทศไทยให้ต่ำลง เพื่อจะสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ทำการศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ประเทศสมาชิกให้เข้าใจ แต่ก็ไม่ลืมที่จะพูดภาษาไทยให้ชัดเจน ดำรงวัฒนธรรมไทย รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติและวิจารณญาณ
อย่างไรก็ตามแม้การรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน จำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่สากล แต่สิ่งที่เหล่าบัณฑิตไทย ต้องตระหนักถึงมากที่สุดคือความเป็นไทย ต้องไม่ลืมที่จะ พูด เขียน ภาษาไทยให้ถูกต้อง รักษาวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และไม่ลืมที่จะเผยแพร่อัตลักษณ์ของความเป็นไทยแก่ชาวต่างชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น